ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน
admin on March 15th, 2009
เบาหวานคืออะไร
เบาหวาน คือโรคหรือความผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษคือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง คำว่าเบาหวาน มาจากคำสองคำคือ “เบา” แปลว่าปัสสาวะ และคำว่า ”หวาน” ซึ่งหมายถึงมีรสหวานหรือมีน้ำตาลในปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนไตไม่สามารถเก็บกักน้ำตาลไว้ได้ น้ำตาลส่วนเกินก็จะออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดมาตอมได้

เบาหวาน คือโรคหรือความผิดปกติที่มีลักษณะพิเศษคือ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง คำว่าเบาหวาน มาจากคำสองคำคือ “เบา” แปลว่าปัสสาวะ และคำว่า ”หวาน” ซึ่งหมายถึงมีรสหวานหรือมีน้ำตาลในปัสสาวะนั่นเอง ซึ่งเป็นอาการสำคัญของผู้ป่วยโรคนี้ เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นจนไตไม่สามารถเก็บกักน้ำตาลไว้ได้ น้ำตาลส่วนเกินก็จะออกมากับปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะมีรสหวาน มีมดมาตอมได้


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน
ส่วน ใหญ่รู้เมื่อมีอาการจากการที่มีน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง ได้แก่อาการคอแห้ง หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และปัสสาวะเป็นจำนวนมาก หิวบ่อย ทานจุ แต่น้ำหนักลดลงเรื่อยๆ อ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เป็นต้น บางคนอาจไม่มีอาการดังกล่าวหรือมีอาการไม่มาก ไม่ชัดเจน แต่จะมาพบแพทย์ด้วยอาการของภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ตามัว มองเห็นไม่ชัดเนื่องจากมีต้อกระจกหรือจอประสาทตาเสื่อม เท้าชา ไม่รู้สึก หรือมีอาการปวดแสบร้อนที่เท้า เป็นแผลที่เท้าเรื้อรังไม่หาย หรือนิ้วเท้าดำเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง หรือมีอาการของโรคไตวาย เช่น บวม ซีด ปัสสาวะเป็นฟอง เป็นต้น อาการของโรคเบาหวานและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏเมื่อเป็นโรคเบาหวานมานานหรือมีระดับน้ำตาลในเลือดขึ้นสูง มาก คนที่เริ่มเป็นเบาหวานใหม่ๆ มักจะไม่มีอาการ แต่ไม่ควรรอจนเป็นมากค่อยมาตรวจและเริ่มการรักษา เพราะภาวะแทรกซ้อนจากเบาหวานส่วนใหญ่ถ้าเป็นมากแล้วจะรักษาไม่หาย ดังนั้นคนที่สงสัยว่าจะเป็นเบาหวานหรือมีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานควรได้รับ การตรวจว่าเป็นเบาหวานหรือไม่เสียแต่เนิ่นๆ

ความเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน
ไม่ใช่ทุกคนจะเป็นเบาหวาน พบว่าคนบางคนเท่านั้นที่มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งได้แก่คนที่มีความเสี่ยงหลายๆ อย่าง ได้แก่ คนที่อ้วนหรือลงพุง คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน เช่นพ่อ แม่ หรือพี่น้องเป็นเบาหวาน คนที่เคยเป็นเบาหวานตอนตั้งครรภ์ คนที่ได้รับยาบางชนิดเช่น สเตียรอยด์ คนที่เป็นโรคของตับอ่อนหรือแม้กระทั่งคนที่สูงอายุก็มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ เป็นต้น

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน, เบาหวาน
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน No comments »
Mar
14 โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
admin on March 14th, 2009
ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมานานหลายปี มักพบโรคแทรกซ้อนเรื้อรัง เช่น ปัญหาด้านสายตา ไตวาย โรคหัวใจ อัมพาต ขาชา แผลเน่าโดยเฉพาะบริเวณเท้า ความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับน้ำตาลในเลือด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงระดับปกติมากเท่าไร ช่วยชะลอและลดความรุนแรงของโรคแทรกซ้อนเรื้อรังลงได้มากเท่านั้น และที่สำคัญคือ โรคแทรกซ้อนเรื้อรังดังกล่าวอาจกลับคืนสู่สภาพปกติได้ ถ้าผู้ป่วยได้รับการตรวจพบความเปลี่ยนแปลงที่เริ่มเกิดขึ้น และได้รับการรักษาแต่เริ่มแรก

ทำไมจึงเกิดโรคแทรกซ้อนเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน

ระดับ น้ำตาลในเลือดที่สูง เป็นระยะเวลานาน จะเป็นพิษต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อระบบหลอดเลือดซึ่งเป็นเสมือนท่อส่งน้ำเลี้ยงของร่าง กาย ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะมีความผิดปกติของระดับไขมันในเลือดด้วย โดยจะมีไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ และมีความดันเลือดสูงกว่าปกติ ทั้งระดับน้ำตาลที่สูง ไขมันในเลือดที่สูง และความดันโลหิตที่สูงจะมีผลต่อผนังหลอดเลือด เกิดการเสื่อมสภาพ มีการอักเสบ และมีการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือดทำให้ตีบ แคบลง หรืออาจตันไปในที่สุด เลือดผ่านไปยังอวัยวะต่างๆ ไม่ได้ เกิดภาวะขาดเลือด ขาดสารอาหาร ขาดออกซิเจน ทำให้อวัยวะนั้นๆ เสียหาย เช่นถ้าเกิดกับหลอดเลือดหัวใจเกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ถ้าเกิดกับเส้นเลือดสมอง ก็จะเกิดอาหารอัมพาต ถ้าเกิดกับเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเสื่อม โดยเฉพาะที่บริเวณเท้า ถ้าเกิดกับจอประสาทตาทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออก จอประสาทตาหลุดลอก ทำให้ตาบอด ถ้าเกิดกับเส้นเลือดที่ไต ทำให้ไตขาดเลือด ไตเสื่อม เป็นโรคไตวายในที่สุด

โรคแทรกซ้อนเรื้อรังที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวาน

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: เบาหวาน, โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน No comments »
Mar
13 โภชนาบำบัด
admin on March 13th, 2009
ความสัมพันธ์ของอาหาร ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับอินซูลินในเลือด

ร่างกายมนุษย์ต้องการพลังงานเพื่อใช้ในการดำเนินชีวิตเหมือนกับเครื่องจักร เครื่องยนต์ พลังงานส่วนใหญ่ได้มาจากน้ำตาลที่อยู่ในเลือด เมื่อเรารับประทานอาหาร สารอาหารต่างๆ จะถูกน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้ย่อยจนมีขนาดเล็กมากและดูดซึมผ่านผนังลำ ไส้เข้าสู่กระแสเลือด สารอาหารบางจำพวกจะถูกย่อยสลายจนกลายเป็นน้ำตาลกลูโคสซึ่งมีขนาดเล็กมาก และดูดซึมผ่านผนังสำไส้เข้าสู่กระแสเลือด ภายหลังรับประทานอาหารเราจึงมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น

สารอาหารชนิดต่างๆ กับระดับน้ำตาลในเลือด

อาหารที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันประกอบด้วยสารอาหารหลัก 6 ชนิดที่สำคัญ ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ แต่สารอาหารที่ให้พลังงานและมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดมี 3 ชนิดคือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน มีผลในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดต่างกัน โดยคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลทั้งหมด 100 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนจะให้พลังงานราวครึ่งหนึ่ง ส่วนไขมันจะถูกสะสมไว้เป็นพลังงานสำรองมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดราว 10 %

คาร์โบไฮเดรต

อาจแบ่งเป็น 2 ประเภทที่สำคัญ คือ
1. คาร์โบไฮเดรตจำพวกน้ำตาล ได้แก่ น้ำตาลชนิดต่างๆ เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลปีบ น้ำตาลอัดก้อน น้ำหวาน เยลลี่ ลูกอมรสชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ คาร์โบไฮเดรตชนิดนี้ดูดซึมได้รวดเร็ว ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน ยกเว้นในกรณีมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งมักเกิดเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารช้ากว่าเวลาที่กำหนด หรือรับประทานน้อยไป
2. คาร์โบไฮเดรตจำพวกธัญพืชและผักผลไม้ ได้แก่ ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ขนมปัง เผือกมัน และผลไม้ อาหารประเภทนี้มีใยอาหารมาก และเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของผู้ป่วยเบาหวาน

คาร์โบไฮเดรตทั้งสองชนิดทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ไม่แตกต่างกัน ปริมาณคาร์โบไฮเดรตทั้งหมดที่ผู้ป่วยได้รับแต่ละมื้อ แต่ละวันจึงมีความสำคัญมาก ถ้าได้รับแต่ละครั้งมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสูง ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรกระจายอาหาร ที่มีคาร์โบไฮเดรตในแต่ละมื้อให้เหมาะสม ปัจจุบันไม่ได้ห้ามผู้เป็นเบาหวานรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลทั้งหมด แต่ควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารประเภทน้ำตาลที่ไม่มีสารอาหารอื่นนอกจาก คาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว เพราะจะทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นรวดเร็ว ผู้เป็นเบาหวานควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตจำพวก ข้าว ก๋วยเตี๋ยว ผัก ผลไม้ ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายแทนน้ำตาล

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน, เบาหวาน, โภชนาบำบัด, โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
โภชนาบำบัด No comments »
Mar
12 เบาหวานกับการออกกำลังกาย
admin on March 12th, 2009
ระดับน้ำตาลในเลือดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดวัน เนื่องจากอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อมีผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นได้ ขณะเดียวกัน น้ำตาลในเลือดจะถูกใช้เป็นพลังงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะสำคัญใช้กลูโคสเป็นพลังงาน ขณะเดียวกันก็เป็นอวัยวะที่เก็บกลูโคส ที่เหลือใช้จากอาหารที่รับประทาน เป็นพลังงานสำรองในรูปของไกลโคเจน การออกกำลังกายที่เหมาะสม อย่างสม่ำเสมอจะทำให้กล้ามเนื้อ สามารถใช้กลูโคสได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเก็บกักกลูโคสได้มากขึ้น เป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
การออกกำลังกาย หมายถึง การมีกิจกรรมเสริมจากกิจวัตรประจำวัน โดยมีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ทั่วร่างกาย มีการสูบฉีดไหลเวียนโลหิตเพิ่มขึ้น ทำให้สมรรถภาพการทำงานของปอดและหัวใจดีขึ้น ช่วยลดความเครียด ความกังวลลงได้ การออกกำลังกายที่เหมาะสมจะทำให้สุขภาพทั่วไป รวมทั้งการควบคุมเบาหวานดีขึ้น

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายมีประโยชน์ คือ
1.1 ช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เนื่องจากอินซูลินออกฤทธิ์ดีขึ้น และร่างกายใช้อินซูลินลดลง
1.2 เพิ่มสมรรถภาพการใช้ไขมันเป็นพลังงาน
1.3 ทำให้การทำงานของหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
1.4 รู้สึกสดชื่นผ่อนคลายร่างกายมีพละกำลังและคล่องตัว

การออกกำลังกายมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

การออกกำลังกายทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกาย 2 ระบบ ได้แก่
– ระบบการหมุนเวียนของเลือดและการหายใจ การออกกำลังกายช่วยให้การไหลเวียนของเลือดและการขนถ่ายออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายดีขึ้น
– ระบบพลังงานและฮอร์โมนอินซูลิน การออกกำลังกายทำให้การใช้อินซูลินลดลงแต่
ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอื่นๆ ทำงานดีขึ้น เช่น กลูคากอน,
อีพิเนฟริน มีปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อสลายกลัยโคเจนในตับ และสร้างกลูโคส ไปสู่กล้ามเนื้อมากขึ้น จึงทำให้ไขมันลดลง

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน, เบาหวาน, เบาหวานกับการออกกำลังกาย, โภชนาบำบัด, โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
เบาหวานกับการออกกำลังกาย No comments »
Mar
11 ยารักษาเบาหวาน
admin on March 11th, 2009
ภาวะน้ำตาลสูงในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองนั้น อาจแบ่งออกได้เป็นระดับน้ำตาลที่สูงภายหลังการรับประทานอาหาร และน้ำตาลที่สูงแม้ในขณะที่อดอาหาร กลไกที่สำคัญของการเกิดน้ำตาลในเลือดที่สูงนี้เกิดจาก ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ร่วมกับความผิดปกติของเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน ไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินได้เพียงพอ การรักษาในระยะแรกนั้น มุ่งเน้นที่การควบคุมอาหาร ซึ่งจะลดระดับน้ำตาลภายหลังการ รับประทานอาหารลงได้ การลดน้ำหนักตัวลงร่วมกับการออกกำลังกายจะช่วยให้ภาวะดื้อต่ออินซูลินดีขึ้น จนทำให้ระดับน้ำตาลในขณะอดอาหาร (น้ำตาลในตอนเช้า) ลดลงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายไม่เป็นผล จำเป็นต้องได้รับยาซึ่งจะออกฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด ยาต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบันมีมากมาย และมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกันไป แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกยาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย การเลือกใช้ยาแต่ละชนิดควรต้องพิจารณาถึงข้อบ่งชี้ของการใช้ยา ข้อห้าม รวมทั้งอาการอันไม่พึงประสงค์ต่างๆ การใช้ยาต่างๆ เหล่านี้ ควรต้องคำนึงถึงปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา เนื่องจากผู้ป่วยเบาหวานมักมีโรคต่างๆ หลายอย่างร่วมด้วย การได้รับยาหลายๆ ชนิดรวมกัน มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนการใช้ยาได้โดยง่าย

ยาชนิดรับประทานคืออะไร

• ยาเบาหวานชนิดเม็ด ใช้เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
• ยา เบาหวานชนิดเม็ด มิใช่อินซูลิน อินซูลินไม่สามารถใช้รับประทานได้ เนื่องจากอินซูลินเป็นโปรตีนที่ถูกทำลายได้ด้วยน้ำย่อย เช่น โปรตีนชนิดอื่นๆ
• ยาชนิดเม็ดจะมีประสิทธิภาพเมื่อตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้บ้าง

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน, ยารักษาเบาหวาน, เบาหวานกับการออกกำลังกาย, โภชนาบำบัด, โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
ยารักษาเบาหวาน No comments »
Mar
10 การตรวจวัด ด้วยตนเองที่บ้าน
admin on March 10th, 2009
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะด้วยตนเองที่บ้าน

อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน และจะหลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นจากอาหารที่รับประทานโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำตาลกลูโคส อินซูลินทำหน้าที่พากลูโคสเข้าสู่เซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่อื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อต่างๆ ควบคุมระดับไขมันในเลือด เป็นต้น

โรคเบาหวานโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่ 2 เกิดจากร่างกายขาดอินซูลิน โดยที่ตับอ่อนสร้างอินซูลิน
ออก มาไม่เพียงพอหรืออินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยกว่าปกติ เนื่องจากเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้กลูโคสไม่ถูกพาเข้าสู่เซลล์ ทั้งสองสาเหตุทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติได้ ในระยะแรกของโรคเบาหวาน การควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รวมทั้งการใช้ยาเม็ดลดระดับน้ำตาล จะช่วยแก้ไขภาวะเหล่านี้ได้ แต่เมื่อโรคดำเนินไปเป็นระยะเวลาหนึ่ง จะพบว่าผู้ป่วยจำนวนมาก จะเริ่มใช้ยาเม็ดไม่ได้ผล เนื่องจากตับอ่อนเสื่อมสภาพลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่สามารถสร้างและหลั่งอินซูลินออกมาได้เพียงพอ เป็นเหตุให้ระดับน้ำตาลสูงจนควบคุมไม่ได้ เมื่อถึงระยะนี้จำเป็นต้องได้รับอินซูลินจากภายนอกเพิ่มเติม จึงจะสามารถรักษาระดับน้ำตาลให้กลับมาเป็นปกติได้อีก

อินซูลินเป็นสารประกอบโปรตีน ไม่สามารถรับประทานได้เหมือนยาเม็ดทั่วไป จำเป็นต้องฉีดเข้าใต้ผิวหนัง การฉีดยาที่ถูกต้องตามหลักวิธี เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องได้รับการเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติ จึงจะป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดอินซูลินได้

1.1 อินซูลิน คือ ฮอร์โมนสร้างจากเซลล์เล็กๆ ภายในตับอ่อน (เบต้าเซลล์)
1.2 อินซูลิน หลั่งออกมาเมื่อมีการกระตุ้นจากอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะการทำงานของ
อินซูลินในคนปกติ แตกต่างจากผู้ป่วยเบาหวาน
1.3 อินซูลิน ทำหน้าที่นำพากลูโคสเข้าสู่เซลล์ และเผาผลาญเป็นพลังงาน อินซูลินทำหน้าที่เสมือนรถบรรทุกกลูโคสนำไปสู่อวัยวะต่างๆ
1.4 โรค เบาหวาน เกิดจากการขาดอินซูลิน หรืออินซูลินออกฤทธิ์ไม่เพียงพอ ทำให้กลูโคสไม่ถูกพาเข้าสู่เซลล์ ทำให้ระดับกลูโคสในเลือดลดลงช้า
1.5 อินซูลิน ใช้เป็นยารับประทานแทนการฉีดยาเข้าใต้ชั้นผิวหนังไม่ได้ อินซูลินเป็นโปรตีนถูกทำลายได้โดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และลำไส้ก่อนจะดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด

2. การเก็บรักษาอินซูลิน

2.1 อินซูลินที่เก็บไว้ใช้นานๆ ควรเก็บในตู้เย็นที่อุณหภูมิ 4-8 องศาเซลเซียส โดยวางตามชั้นต่างๆ ในตู้เย็น ยกเว้นช่องทำนำแข็ง และบริเวณดวงไฟให้ความสว่างในตู้เย็น ห้ามแช่แข็ง
2.2 อินซูลินที่เปิดฝาแล้วสำหรับใช้ฉีดทุกวัน หากเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (30 องศา) จะอยู่ได้นาน 1 เดือน
– เมื่อ เดินทางไกล ไม่ต้องแช่ขวดอินซูลินในกระติกน้ำแข็ง เพียงระวังไม่ใช้ถูกแสงแดด หรือความร้อนอบอ้าว หรือทิ้งไว้ในรถที่มีอุณหภูมิสูง
2.3 ก่อนใช้ตรวจสอบป้ายแสดง วัน เวลา ยาหมดอายุข้างขวด

Read the rest of this entry »

Thai Share This

Tags: การตรวจวัด ด้วยตนเองที่บ้าน, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับเบาหวาน, ยารักษาเบาหวาน, เบาหวานกับการออกกำลังกาย, โรคแทรกซ้อนของเบาหวาน
การตรวจวัด ด้วยตนเองที่บ้าน No comments »

Leave a Reply