ประชุมวิชาการ54

ประชุมวิชาการ

The optimal COPD management

แบบสรุปจากที่เข้าร่วมประชุม

วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

เรื่อง The optimal COPD management

1.สรุปเนื้อหาในการอบรม

รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ ให้ความรู้เรื่อง

สาเหตุ ที่สำคัญ คือ การสูบบุหรี่ การสูดควันพิษ ควันถ่านจากการหุงต้มเป็นเวลานานๆติดต่อกัน

กลไกการเกิดโรค  เริ่มจากการสูดควันพิษเป็นระยะเวลาต่อเนื่องกันนานๆ  ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดลม และถุงลมตีบในที่สุด

อาการ เริ่มจากเหนื่อยเมื่อออกแรง   รู้สึกเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำอะไรไม่ได้ และตายในที่สุด

อาการหอบกำเริบนั้นไม่เป็นอาการอันพึงประสงค์ของผู้ป่วยในโรคนี้ เนื่องจากจะทำให้ระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ได้ลดลง ดังนั้นการรักษาจึงควรได้พิจารณาลดอาการของการกำเริบลง เพื่อให้มีชีวิตยืนยาวมากขึ้น

วัตถุประสงค์ของการรักษาที่สำคัญคือ ต้องการให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ( Quality of life )

การรักษาที่ดี มี 4 ส่วน ประกอบด้วย

1.วินิจฉัยให้ถูก

2.ประเมินให้ได้ว่าจะรักษาอะไร

3.ให้ยาที่ดีและเหมาะสม

4.รักษาสาเหตุอื่นๆที่ร่วมด้วย พร้อมทั้งเตรียมตัวในเรื่องของ End of life

การวินิจฉัย ต้องประกอบด้วย อาการและอาการแสดง  ประวัติเสี่ยง ผลการตรวจสมรรถภาพของปอด ผล CXR

การรักษา ที่สำคัญ

  1. หยุดสูบบุหรี่ 
  2. ให้ยาพ่นขยายหลอดลม
  3. ถ้ามีอาการกำเริบให้เพิ่มยาในกลุ่ม Steroid
  4. ให้ภูมิคุ้มกันโรคโดยการฉีดวัคซีนประจำปี
  5. ให้ความรู้เรื่องกายบริหารโดยนักกายภาพบำบัด

2.สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

   นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

3.การถ่ายทอดโดยวิธีใด ( นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ )

                                                                   ลงชื่อ        สมใจ  ณุวงศ์ศรี

                                                                              ( นางสมใจ  ณุวงศ์ศรี  )

                                                                 ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ

Easy COPD Clinic

แบบสรุปจากที่เข้าร่วมประชุม

วันที่ 5 กรกฎาคม 2554

เรื่อง Easy COPD Clinic

1.สรุปเนื้อหาในการอบรม

รศ.นพ.วัชรา  บุญสวัสดิ์ ให้ความรู้เรื่อง

คำจำกัดความ โรคที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจที่ถุงลมขยายได้แต่จะไม่กลับเข้าสู่สภาวะปกติ ( not fully reversible ) มีการดำเนินของโรคต่อ มีการอักเสบในปอดที่เกิดจากควันพา เช่น บุหรี่  ควันถ่าน

การวินิจฉัย บอกได้ด้วยค่าของการตรวจสมรรถภาพปอด คือ ค่า FEV1 และ FVC

ระดับความรุนแรง

1.mild                  FEV1 ≥ 80 % predicted

2.moderate           50 % ≤FEV1 < 80 % predicted

3.severe                30 % ≤ FEV1 <50 % predicted

4.very severe        FEV1 < 30 %  predicted  or

                             FEV1 < 50 % predicted plus chronic respiratory failure

ผลกระทบของโรค

  1. Systemic inflammation
  2. Weight loss
  3. Skeletal muscle dysfunction

ความรุนแรงของโรคสามารถบอกได้ด้วย  BODE index

B : Body Mass Index

O : Airway Obstruction

D : Dyspnea

E : Exercise Capacity Index

อ้างอิงงานวิจัยของ Chistopher M. ว่าการให้ยาSteroid ช่วยในเรื่องของ Lung Function

การรักษาด้วยยา คือการให้ยาพ่นขยายหลอดลม ICS LABA

การรักษาโดยไม่ใช้ยา คือ การฝึกการหายใจ  การให้ออกซิเจน > 15 ชั่วโมงต่อวัน keep O2 ≥ 90 %  คลีนิกอดบุหรี่

การวิจัยของ TORCH บอกได้ว่าการใช้ยา SFC ช่วยลดอัตราการตายได้ 3 ปี และลดการกำเริบของโรคได้ แต่ค่าความน่าเชื่อถือเกิน คือ p = 0.052

การอ่านผลจากเครื่อง Spirometry

อ่านแค่ 3 ค่า คือ

FEV1             ลมที่เป่าได้ใน 1 วินาทีแรก ปกติ > 80 %

FVC               ลมที่เป่าออกได้ทั้งหมด

FEV1/FVC    ค่าของลมที่เป่าได้                ปกติ > 70 %

กรณีที่ไม่มีเครื่อง Spirometry ให้วินิจฉัยจาก

1.Dyspnea score

2.Six minute walk

3.อาการ Exacerbation

อาจารย์สุนี  เลิศสินอุดม ให้ความรู้เรื่องการใช้ยาพ่น

กฎของการให้ยา คำนึงถึง

  1. การให้ความรู้เรื่องยา
  2. การเริ่มให้ยาในระยะเริ่มมีอาการในระยะแรกๆ
  3. การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

สำหรับการใช้ยาพ่นในรูปแบบพิเศษสามารถศึกษาได้จากเอกสารที่ได้รับจากการประชุม

อาจารย์อุไรวรรณ  แซ่อุย ให้ความรู้ในเรื่องบทบาทของพยาบาลในคลินิก การกรอกข้อมูลลงในใน Appendix 1 , 2 และ3  วิธีการประเมิน Dyspnea score  การคำนวณBMI  การใช้เครื่อง Spirometry และการอ่านค่า  การทดสอบสมรรถภาพปอดด้วย Peak Flow Meter และการให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่เหมาะสมเกี่ยวกับ

2.สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

 –  นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

 –  วางแผนจัดการเกี่ยวกับการให้สุขศึกษาผู้ป่วยโรคหอบและจัดกิจกรรมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ โดยให้นักกายภาพมาช่วยสอน/ฝึกวิธีการหายใจและการออกกำลังกายที่เหมาะสม  จัดเตรียมสถานที่ในการทำ 6 minute walk test  ประเมิน Dyspnea score และลงข้อมูลผู้ป่วยโรค COPD ในระบบของ Easy COPD Clinic

3.การถ่ายทอดโดยวิธีใด ( นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ )

                                                                    ลงชื่อ          สมใจ  ณุวงศ์ศรี

                                                                                  ( นางสมใจ  ณุวงศ์ศรี )

                                                                     ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

วันที่ 27 มิถุนายน 2554

เรื่องการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน

1) สรุปเนื้อหาในการอบรม

อาจารย์ยงชัย นิละนนท์

ให้คำจำกัดความของโรคตาม WHO เกี่ยวกับ  Stroke และ TIA

การรักษา คือ

1.การให้ยาละลายลิ่มเลือด ( rt-PA , recombinant tissue plasminogen activator) ภายใน3 – 4.5 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ

2.การให้ยาแอสไพริน ภายใน 48 ชั่วโมง

3.การรับตัวผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

4.การผ่าตัด hemicraniectomy ในผู้ป่วยสมองขาดเลือดอย่างรุนแรงในบริเวณที่เลี้ยงด้วย middle cerebral artery

   จากการศึกษาของPOOL พบว่า ระยะเวลาที่ดีที่สุดในการให้ยา rt-PA คือ การให้ยายิ่งเร็วยิ่งดี มีโอกาสฟื้นหายได้มากกว่า การทดลองบอกว่าที่เวลา 1.5 ชั่วโมง ช่วยให้ผู้ป่วยหายได้มากกว่าที่เวลา 3 ชั่วโมง หมายความว่า การได้รับยาเร็วดีที่สุด

   จากการศึกษาของ ECASSE พบว่าที่เวลา 3 – 4.5 ชั่วโมงก็ยังได้ประโยชน์จากการให้ยา rt-PA อยู่

และให้ข้อคิดเตือนใจว่า การยืดเวลาออกไปมากกว่า 3 ชั่วโมงเดิม นั้นเป็นการให้โอกาสกับผู้ป่วยไม่ใช่ให้แพทย์หรือพยาบาลมีเวลาในการรอที่มากขึ้น

การประเมินระดับของโรคหลอดเลือดสมอง ไม่ควรประเมินแค่ Glasgow coma score ควรใช้ NIHSS

 ขนาดของยา rt-PA คือ 0.9มก./กก. ไม่ควรให้เกิน90มก.

สรุป

1.การให้ยา rt-PA

2.Stroke Unit

3.General trteatment

– airway support

– oxygen therapy

– antipyretic

– NIHSS / Swalling assess

อาจารย์นิรมล ลิรัฐพงค์

     โรคหลอดเลือดสมอง เป็นกลุ่มอาการทางคลินิกที่เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หรือ มีเลือดออกในโพรงกะโหลกศีรษะ อาการของโรคมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและอยู่นานเกิน 24 ชั่วโมง

แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

  1. เกิดจากการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ( Ischemic Stroke )
  2. เกิดจากมีเลือดออกในโพรงกะโหลกศีรษะ ( Hemorrhagic Stroke )

อาการของโรคในระยะเฉียบพลัน

1.แขน ขา ชา อ่อนแรงข้างใดข้างหนึ่งทันที

2.พูดไม่ชัด พูดไม่ได้ หรือฟังไม่เข้าใจทันทีทันใด

3.เดินเซ เวียนศีรษะทันทีทันใด

4.ตามองเห็นภาพซ้อน หรือมืดมัวข้างใดข้างหนึ่งทันที

5.ปวดศีรษะอย่างรุนแรงทันที

การตรวจทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญ คือ CT brain และ MRI

ข้อบ่งชี้และข้อห้ามในการให้ยาละลายลิ่มเลือด และกิจกรรมการพยาบาล สามารถอ่านได้จากเอกสารที่ได้รับจากการเข้าร่วมประชุมค่ะ

พญ. วราภรณ์  ชูนามชัย

FAST Tract

F: Face ตรวจดูหน้าเบี้ยว โดยให้ยิ้ม หรือยิงฟัน

A : Arm ตรวจกำลังของกล้ามเนื้อแขน โดยการให้ยกแขนขึ้น 2 ข้าง หลับตาแล้วนับ 1-10

S : Speech ตรวจการพูด อาจพูดไม่ชัด หรือพูดไม่ออก

T : Time  เวลาที่จะสามารถให้ยาละลายลิ่มเลือด โดยซักประวัติเมิอเริ่มเกิดอาการให้ได้

การเตรียมผู้ป่วยและญาติในการส่งต่อ

1.พยาบาลประเมินอาการตาม ABCD , V/S , NIHSS , N/S

2.ให้ออกซิเจน

3.DTX stat

4.รายงานแพทย์

5.ให้ 0.9 % NaCL 1000 ml iv 8 ml / hr

6.เจาะเลือดส่งตรวจ CBC , plt.Count , Coagulogram ( ถ้าไม่มีให้เจาะเลือดไปด้วย )

7.เตรียมญาติสายตรง/ผู้เห็นเหตุการณ์ มากับผู้ป่วยเพื่อร่วมตัดสินใจที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือด

2)  สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

   นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

3)การถ่ายทอดโดยวิธีใด  ( นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ )

                                                                    ลงชื่อ          สมใจ  ณุวงศ์ศรี

                                                                                  ( นางสมใจ  ณุวงศ์ศรี )

                                                                     ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ

สารสนเทศทางการพยาบาล

สรุปการประชุม “สารสนเทศทางการพยาบาล

วันที่ 9-11 กุมภาพันธ์ 2554

ณ โรงพยาบาลศรีสะเกษ

อ.จุฑารัตน์ เพ็ญเขตวิทย์ (สำนักการพยาบาล)                                 

1. หัวข้อการอบรม

  1. ตัวชี้วัด 12 ตัวใน โรงพยาบาล ที่ต้องมีผู้ดูแล ควบคุมกำกับ ติดตามเพื่อให้สัมฤทธิ์ผล

      ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล  ปี 2554ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล ตามยุทธศาสตร์บริการพยาบาล พ.ศ.2552-2555 จำนวน 5 ตัวชี้วัด ดังนี้ 

 ตัวชี้วัดที่  1 ร้อยละของสถานบริการสุขภาพที่งานบริการพยาบาลผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพบริการพยาบาลตามเกณฑ์ระดับ 3 ขึ้นไป

 ตัวชี้วัดที่  2 ร้อยละความพึงพอใจในงาน ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานของบุคลากรทางการพยาบาล

   ตัวชี้วัดที่  3 ร้อยละความพึงพอใจของผู้ป่วย / ผู้ใช้บริการต่อบริการพยาบาลในสถานบริการสุขภาพ

   ตัวชี้วัดที่ 4 จำนวนองค์ความรู้และ / หรือนวตกรรมที่ผลิตและพัฒนาขึ้น ที่มีการนำไปใช้ในการจัดการ    ปัญหาสุขภาพในโรงพยาบาล

   ตัวชี้วัดที่  5   อัตราการเข้าถึงบริการพยาบาลผู้จัดการดูแล (Nurse Case Manager) และตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล เสนอโดย Holezemer (1994)  มีจำนวน 8 ตัวชี้วัด  ดังนี้ 

                   ตัวชี้วัดที่  6   การผสมผสานอัตรากำลัง  (Mix  of  RN,  TN)

                   ตัวชี้วัดที่  7   จำนวนชั่วโมงการพยาบาลต่อวันผู้ป่วยนอนในโรงพยาบาล

                               ตัวชี้วัดที่  8   อัตราการเกิดแผลกดทับในโรงพยาบาล

                   ตัวชี้วัดที่  9   อัตราการติดเชื้อในโรงพยาบาล

                   ตัวชี้วัดที่  10 ประสิทธิภาพการเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

                   ตัวชี้วัดที่  11 อัตราการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ

                   ตัวชี้วัดที่  12 อัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำในโรงพยาบาลภายใน 28 วันโดยไม่ได้วางแผน

                   ตัวชี้วัดที่  13 ระยะเวลาวันนอนเฉลี่ยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

  1. การนำตัวชี้วัดไปวางแผน พัฒนาคุณภาพการพยาบาล
  2. การนำการบันทึกข้อมูลบุคลากรไปพัฒนา เป็นสารสนเทศทางการพยาบาล
  3. การเก็บข้อมูลพัฒนาคนให้ตรงกับงาน
  4. การเก็บข้อมูลเพื่อพัฒนาศักยภาพเพื่อรอรับการประเมินแบบแท่ง (ซึ่งกพร.ยังไม่ได้ออก  แบบประเมินมา)  ขณะนี้รพ.ศรีสะเกษ ได้เชิญอาจารย์มา ออกแบบประเมินแล้ว ในเดือนหน้า
  5. การอบรม ระดับ admin ของ NHR คือต้องมีข้อมูล  500 ข้อมูลขึ้นไป อาจารย์จะมีหนังสือเชิญมา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งปัจจุบันมีที่ทำสำเร็จ คือสถาบันเด็ก
  6. ประชาสัมพันธ์ การอบรมหลักสูตรการบริหารการพยาบาล 4 เดือน ที่รพ.สรรพสิทธิ ฯ อุบล ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ไม่ต้องเสียวันลา อบรมเฉพาะ เสาร์ – อาทิตย์ ทั้งหมด  16 ครั้ง ค่าอบรม 25,000 บาท สนใจ โทรสอบถาม ที่หัวหน้าฝ่ายการได้ คุณสมบัติ คือ พยาบาลวิชาชีพ สามารถเบิกค่าเดินทาง และค่าลงทะเบียนตามกฎฯได้ และเปิดเรียน พฤษภาคม 2554  ได้ขอรับรองหลักสูตรจากสภาการพยาบาล
  7. สำนักการพยาบาลร่วมกับชมรมผู้บริหารทางการพยาบาลแห่งประเทศไทย ดำเนินการจัดประชุมถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่อง “การประเมินคุณภาพบริการพยาบาลภายในโรงพยาบาล” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนางานคุณภาพบริการพยาบาลสู่ความเป็นเลิศอย่างต่อเนื่องเกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อประชาชนผู้ใช้บริการ สำนักการพยาบาลได้จัดประชุมดังกล่าว 4 รุ่น 4 ภาค ดังนี้  

       รุ่นที่ 1 เขตภาคกลางระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2554 ณ ห้องมิราเคิล แกรนด์ บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร 600 คน ปิดรับสมัครวันที่ 7 เมษายน 2554 
           

2.สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

 –  นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

 –  วางแผนจัดการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการพยาบาลให้ครอบคลุม

– จัดระบบการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรทางการพยาบาล ไว้ในระบบสารสนเทศที่เชื่อมต่อกับสำนักการพยาบาล

– ใช้การจัดการตัวชี้วัดที่สำนักการพยาบาลกำหนด และพัฒนาหาผู้รับผิดชอบตัวชี้วัดแต่ละตัวเพื่อพัฒนาและปรับตัวตัวชี้วัด

3.การถ่ายทอดโดยวิธีใด ( นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ )

ลงชื่อ  วิไลวรรณ อ่องน้อย

( นางสาววิไลวรรณ  อ่องน้อย)

ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ

ผู้เข้าอบรมและสรุปการอบรม

จริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล

แบบสรุปจากที่เข้าร่วมประชุม

 

วันที่ 24 มิถุนายน 2554

เรื่อง จริยธรรม จรรยาบรรณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพพยาบาล

1.สรุปได้ดังนี้

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

กฎหมายในมาตรา3 เรื่อง บริการสาธารณสุข

กฎหมายในมาตรา4 เรื่องคำจำกัดความ

กฎหมายในมาตรา5 เรื่องบุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุข

กฎหมายในมาตรา6 เรื่องให้มีสภาการพยาบาล

กฎหมายในมาตรา7 เรื่องวัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล

กฎหมายในมาตรา8 เรื่องอำนาจหน้าที่ของสภาการพยาบาล

กฎหมายในมาตรา9 เรื่องรายได้ของสภาการพยาบาล

  หมวดที่5 การควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ มีมาตรา28, 29. 30, 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42 , 43, 44, 45

  หมวด5 ทวิ พนักงานเจ้าหน้าที่ ในมาตรา45 ตรี , มาตรา45 จัตวาและมาตรา45 เบญจ

  หมวด6 บทกำหนดโทษ ในมาตรา46, 47, 48และ48 ทวิ

กฎหมายในมาตรา84 เรื่อง การมอบหมายงาน

  จริยธรรม คือการพัฒนาพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ที่สำคัญ มีการดำเนินชีวิตด้วยการมีสัมพันธ์กับมนุษย์ สิ่งมีชีวิตอื่นและสิ่งไม่มีชีวิตอย่างถูกต้อง

คุณธรรม คือองค์ประกอบของคุณงานความดี ที่มีความเป็นจริงและความถูกต้อง

จริยธรรม หมายความว่า หลักเกณฑ์ในการประพฤติปฏิบัติของมนุษย์ เพื่อดำรง หรือพิทักษ์ความจริง ความดี ความถูกต้อง

จรรยา หมายความว่า ความรู้ ความประพฤติในสิ่งที่ควรประพฤติ ที่เป็นความจริง ความดี ความถูกต้อง

หลักจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพฯ

1.ให้ผู้ป่วยมีความเป็นอิสระทางความคิดในการตัดสินใจด้วยตนเอง

2.ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่ด้วยความเมตตา กรุณา โอบอ้อมอารี

3.ปฏิบัติภารกิจในหน้าที่โดยตระหนักถึงมาตรการในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือเป็นอันตราย

4.ทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต

5.ปฏิบัติต่อผู้ใช้บริการทุกคนอย่างยุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง

6.การพูดความจริง

– เป็นการสนับสนุนตามสิทธิที่มี

– เป็นการเคารพนับถือในฐานะบุคคล

– เป็นไปตามหลักของความเป็นอิสระ

ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับจริยธรรม

จริยธรรม เป็นแนวคิดเชิงปรัชญา ที่ทำการศึกษาวิเคราะห์ ค่านิยมการกระทำและทางเลือก เพื่อการพิจารณาว่าถูกและผิด

กฎหมาย ได้กำหนดโดยผู้มรอำนาจหน้าที่ตราเป็นข้อบัญญัติที่ใช้บังคับในสถานการณ์ที่กำหนด

หลักการทางจริยธรรม

การดำเนินการเพื่อให้บังเกิดผลดีที่สุด มี 6 ประการ

1.สิทธิผู้ป่วยในการตัดสินใจอย่างเป็นอิสระ

2.การกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

3.การกระทำเพื่อหลีกเลี่ยงสาเหตุหรือป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิด

4.การกระทำด้วยความซื่อสัตย์ตามพันธะสัญญาของวิชาชีพ

5.การกระทำต่อผู้ป่วยและครอบครัวด้วยความยุติธรรม

6.การบอกความจริง

จรรยาบรรณวิชาชีพ คือคำประกาศว่าด้วยหน้าที่ที่พึงกระทำ และความรับผิดชอบโดยสังเขปของผู้ประกอบวิชาชีพ เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนมโนธรรมและความรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพอย่างเป็นอิสระและเพื่อประกาศให้สังคมรับรู้จุดมุ่งหมายของวิชาชีพได้

1.พยาบาลรับผิดชอบต่อประชาชน ผู้ต้องการพยาบาลและบริการสุขภาพ

2.พยาบาลประกอบวิชาชีพด้วยความเมตตา กรุณา เคารพในคุณค่าของชีวิต ความมีสุขภาพดีและความผาสุกของเพื่อนมนุษย์

3.พยาบาลมีปฏิสัมพันธ์ทางวิชาชีพกับผู้ใช้บริการ ผู้ร่วมงาน และประชาชน ด้วยความเคารพ ศักดิ์ศรีและสิทธิมนุษยชนของบุคคล

4.พยาบาลยึดหลักความยุติธรรมและความเสมอภาคในสังคมมนุษย์

5.พยาบาลประกอบวิชาชีพโดยความมุ่งความเป็นเลิศ

6.พยาบาลพึงป้องกันอันตรายต่อสุขภาพและชีวิตของผู้ใช้บริการ

7.พยาบาลรับผิดชอบในการปฏิบัติให้สังคมเกิดความเชื่อถือ ไว้วางใจต่อพยาบาล และต่อวิชาชีพพยาบาล

8.พยาบาลพึงร่วมในการทำความเจริญก้าวหน้าให้แก่วิชาชีพการพยาบาล

9.พยาบาลพึงรับผิดชอบต่อตนเองเช่นเดียวกับรับผิดชอบต่อผู้อื่น

การพัฒนาคุณธรรม

พระเทพเวที ( ประยุทธ์ ปยุต.โต ) ได้กล่าวเกี่ยวกับการพัฒนาคุณธรรมว่า สามารถที่จะเลือกพัฒนาได้ 2 ทาง คือ การใช้ธรรมะเป็นหลักในการฝึกอบรมและใช้วิธีคิดในการพัฒนา

บทกวี “ สองคนยลตามช่อง       คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม

              อีกคนตาแหลมคม        มองเห็นดาวที่พราวพราย ”

2.สิ่งที่ต้องพัฒนาหลังกลับจากอบรม

   นำความรู้ที่ได้รับมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย และถ่ายทอดความรู้ไปสู่เพื่อนร่วมวิชาชีพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อวิชาชีพและสุขภาพที่ดีของผู้รับบริการ

3.การถ่ายทอดโดยวิธีใด ( นำเสนอในที่ประชุม/เผยแพร่ทางเวปไซด์โรงพยาบาล/ติดประกาศ/จัดบอร์ด/จัดนิทรรศการ )

                                                                    ลงชื่อ         สมใจ    ณุวงศ์ศรี

                                                                                ( นางสมใจ     ณุวงศ์ศรี  )

                                                                   ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพระดับชำนาญการ

แนวทางจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรัง

การบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคลาการ

พัฒนาการจัดระบบวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข